พียูโฟม สำหรับงานรั่วซึม
บริการยิงโฟมกันน้ำรั่วซึม อัดฉีดโฟมกันน้ำรั่วซึม ฉีดโฟมกันน้ำรั่วซึม อัดฉีดยิง P.U.FOAM กันน้ำรั่วซึม อัดฉีดยิง Polyurethane FOAM กันน้ำรั่วซึม ขายโฟมกันน้ำรั่วซึม ขาย P.U.FOAM กันน้ำรั่วซึม ขาย Polyurethane Foam INJECTION ยิงโพลียูรีเทรน โฟม Polyurethane Foam Injection Injection PU Foam โดยปกติทั่วไปลักษณะการรั่วซึมของโครงสร้างมักจะเกิดขึ้นด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง และมักจะเกิดขึ้นกับประเภทของงานและลักษณะของงานดังนี้ต่อไปนี้ :
ช่วงของบริเวณแนวรอยต่อของคอนกรีตต่างๆ คอนกรีตมีรูโพรง (จี้วายไม่ดี จี้วายไม่ถึง แบบแตก)
คอนกรีตมีรอยแตกร้าว โดยการรั่วซึมมักจะเกิดกับประเภทของงานต่างๆ ดังนี้ คือ ตำแหน่ง KING POST, แทงค์น้ำคอนกรีตรั่วซึม (Water Tank), สระว่ายน้ำรั่วซึม, พื้นชั้นใต้ดินรั่วซึม, ผนังห้องใต้ดินรั่วซึม, บ่อลิฟท์น้ำรั่วซึม, รอบคอท่อรั่วซึม, อุโมงค์ใต้ดินรั่วซึม, บ่อเก็บน้ำโรงงานรั่วซึม, บ่อเก็บน้ำเสียโรงงานรั่วซึม, ผนังเพดานลานจอดรถรั่วซึม, พื้นห้องน้ำรั่วซึม ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้มักจะทำให้เกิดความเสียหาย และปัญหาต่างๆ ตามมา
วัสดุกันซึม P.U. Foam, Polyurethane Foam จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขกับปัญหาน้ำรั่วซึมต่างๆ อย่างได้ผล โดยวัสดุกันซึม Polyurethane Foam คุณภาพสูงสำหรับงานซ่อมน้ำรั่วซึมในโครงสร้างคอนกรีตนี้ สามารถหยุดน้ำได้อย่างถาวร จะขยายตัวเมื่อสัมผัสกับน้ำ มี 2 ส่วน คือ Part A : น้ำยา Polyurethane Foam และ Part B : สารตัวเร่งโฟม ลักษณะของโฟมไม่หดตัว ทำปฏิกิริยากับน้ำเพียงเล็กน้อยจะขยายตัวป้องกันการรั่วซึมของน้ำ ยืดหยุ่นตัวได้ดี มีการยึดเกาะที่ดีทั้งพื้นผิวที่เปียกและแห้ง ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม สามารถควบคุมระยะเวลาการทำปฏิกิริยากับน้ำได้ จาก 3 วินาที จนถึง 30 วินาที
วัสดุกันซึมโพลียูรีเทรนโฟม P.U. Foam (Polyurethane Foam) ไม่เป็นพิษ จึงสามารถใช้ได้ดีกับถังเก็บน้ำอุปโภคบริโภค หรือสระว่ายน้ำได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถทำการซ่อมแซมแก้ไขการรั่วซึมของน้ำได้ โดยไม่ต้องทำการปล่อยน้ำออกจากแหล่งกักเก็บน้ำ วิธีการใช้งาน เตรียมกำจัดเศษฝุ่น ฝ้าน้ำปูน จารบี และสิ่งสกปรกต่างๆ ในบริเวณรอยแตกร้าวหรือรูพรุนที่มีน้ำรั่วซึม เจาะติดตั้งหัวอัดฉีดน้ำ (Packer) โดยทำการเจาะเฉียงทำมุม 45 องศา กับรอยแตกร้าว โดยเจาะให้ตรงประมาณกึ่งกลางของความลึกของรอยแตกร้าวและเจาะสลับระหว่างรูเจาะ แล้วติดตั้งหัวยิง (Packer) โดยยึดให้แน่น ฉีดอัดน้ำยาโฟม Polyurethane Foam ลงไป ด้วยแรงดันมากกว่า 17 บาร์เข้าไปในรอยแตกร้าว หรือจุดที่มีการรั่วซึมของน้ำผ่านทางหัวฉีด โฟมจะทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วเซทตัวออกมาให้เห็น แล้วเปลี่ยนอัดฉีดที่หัวยิงตามที่ติดตั้งไปจนหมด และอาจจะต้องทำการอัดฉีดซ้ำเพิ่มเพื่อให้การหยุดน้ำรั่วซึมเป็นไปอย่างสมบูรณ์ การขยายตัวของโพลียูรีเทรนโฟม Polyurethane Foam จะเกิดแรงดันขึ้นประมาณ 3.15 MPa จึงควรระมัดระวังในการซ่อมแซม
รายละเอียดสินค้า
เป็นสารเคมีกลุ่มของโพรียูรีเทน เมื่อผสมสารส่วน A ซึ่งเป็นสารหลักเข้ากับส่วนผสม B ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี เมื่อผสมเข้ากันดีแล้ว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ จะทำปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสกับน้ำ เกิดก๊าซในตัวเองซึ่งจะทำให้เนื้อของสารเปลี่ยนจากของเหลวกลายเป็นเนื้อโฟมสีเหลือง ซึ่งจะมีการเพิ่มปริมาตรในขณะที่กำลังขยายตัว ส่วนใหญ่จะใช้กับการซ่อมน้ำรั่วบริเวณบ่อน้ำคอนกรีต ถังเก็บน้ำ สระว่ายน้ำ ห้องหรือโครงสร้างที่อยู่ใต้ดิน อุโมงค์ สถานีรถไฟใต้ดิน ฉีดอัดในงานถนนเพื่อดูดซับน้ำในดิน และอื่นๆ
ประโยชน์การใช้งาน
ใช้ฉีดอัดด้วยปั้มแรงดันสูง เข้าไปตามรอยแตกคอนกรีตที่มีน้ำรั่วหรือซึม PU Foam จะขยายตัวเมื่อสัมผัสน้ำหรือความชื้นและขยายตัวภายในรอยแตก หรือโพรงภายในคอนกรีตจนเต็มพื้นที่เพื่อหยุดน้ำรั่ว น้ำซึมในทันที
PU Foam ใช้สำหรับการซ่อมแซมน้ำรั่วที่มาจากรอยแตก รังผึ้งต่างๆ ในคอนกรีตใช้งานโดยการฉีดและอัดด้วยปั๊มแรงดันสูงเข้าไปตามรอยแตกของคอนกรีตที่มีน้ำรั่วซึมต่างๆดังนี้
- รอยแตกม รอยต่อของคอนกรีต
- คอนกรีตที่ไม่แข็งแรง, สมบูรณ์ (มีรอยแตกหรือเป็นรังผึ้ง)
- โครงสร้างที่เป็นอิฐ
- โครงสร้างหินปูน
- แท็งค์น้ำ
- ท่อต่างๆ
- สระว่ายน้ำ
- ห้องใต้ถุน
- อุโมงค์, เขื่อน
- ท่อน้ำทิ้ง, ท่อใต้ดิน
- ทางรถไปใต้ดิน
- งานซ่อมพื้นดิน
- อื่นๆ
คุณสมบัติเด่น
PU Foam ได้รับการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้รองรับการใช้งานได้มากขึ้น คือหลังจากที่เกิดการขยายตัวและเป็นโฟมแล้ว เนื้อโฟมจะมีลักษณะยืดหยุ่นได้ ขนาดของฟองอากาศที่เกิดภายในมีความละเอียดมาก ประโยชน์คือ บริเวณที่ซ่อมด้วย PU Foam เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนหรือการขยับตัวเล็กน้อย เนื้อของโฟมจะไม่แตกเสียหาย ซึ่งจะทำให้การซ่อมมีประสิทธิภาพและคงทนมากยิ่งขึ้น
ลักษณะทั่วไป
- เป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้ม
- มีความหนืดต่ำ จึงง่ายต่อการฉีดอัดเข้าไปในบริเวณที่ต้องการหยุดน้ำ
- สามารถเร่งความเร็วในการทำปฏิกิริยาได้เมื่อเพิ่มสารตัวเร่ง( เพิ่มส่วนผสม B)
- ทนต่อสารเคมีได้ดี
- อัตราการขยายตัวได้สูงสุด 30 เท่า
- เนื้อโฟมละเอียดซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำได้ดี
- มีความยืดหยุ่นซึ่งจะทำให้รองรับการสั่นสะเทือนเล็กน้อยได้โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายหรือแตกร้าวที่เนื้อโฟม
ข้อมูลทางเทคนิค
ส่วนผสม A
ลักษณะทางกายภาพ : ของเหลวสีน้ำตาลเข้ม
ความหนืดที่25oC ( cps ) : 50- 400
ความถ่วงจำเพาะที่25o C : 1.005 – 1.205
ส่วนผสม B
ลักษณะทางกายภาพ : เหลืองใส
ความหนืดที่25 oC( cps ) : 0 - 30
ความถ่วงจำเพาะที่25 oC : 0.835 – 1.035
อัตราส่วนผสมที่แนะนำ : 10: 1 ( A:B )
Cream time ( sec ) : 15
Rise time ( sec ) : 73
Expansion rate : 30max
หมายเหตุ ผลทดสอบต่างๆที่ได้วัดจากตัวอย่างที่ใช้ในห้องทดลองเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับการทดสอบตัวอย่างใดได้
ข้อแนะนำการใช้งาน
ควรใส่ถุงมือ เสื้อคลุม ผ้าปิดจมูก แว่นป้องกัน และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นต่อความปลอดภัย ขณะใช้งาน เมื่อสัมผัสกับสินค้า ควรล้างด้วยน้ำสบู่ให้สะอาด ถ้าเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำเปล่าอย่างน้อย 15 นาทีและรีบไปพบแพทย์โดยด่วน หลังจากใช้งานแล้วให้ล้างเครื่องมือทุกชนิดด้วยทินเนอร์
ขนาดบรรจุ
ส่วนผสม A บรรจุ 20 กิโลกรัม
ส่วนผสม B บรรจุ 2 กิโลกรัม
การเก็บรักษา
ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด และความชื้น ฝาควรปิดสนิท ถ้าใช้งานไม่หมดควรอัดด้วยก๊าซไนโตรเจนก่อนปิดฝา อายุการใช้งาน 6 เดือนเมื่อยังไม่ได้เปิดใช้งาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก asas วันที่ 5 ม.ค 2556 22,375 ครั้ง