สนใจพ่นโฟม O8.4848.4949
พี.ยู.โฟม คืออะไร?
โพลียูริเทนโฟม ( Polyurethane Foam ) หรือ พี.ยู.โฟม ( P.U.Foam )
เป็นสารเคมีโพลียูริเทนชนิดหนึ่งที่มีลักษณะของเนื้อโพลิเมอร์ไม่แน่น ผลิตจากโพลิอีเทอร์ และไดไอโซไซยาเนต โดยมีน้ำและแคตทาลิสต์ เช่น แอมีน และออร์แกโนทิน ทำให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น และแทรกอยู่ในเนื้อของโพลิเมอร์ระหว่างโพลิเมอไรเซชัน บางครั้งใช้แก๊ส หรือวัสดุระเหยง่ายชนิดอื่นเป็นโบลอิงเอเจนต์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เฟล็กซิเบิลโฟม และริจิดโฟม
เฟล็กซิเบิลโฟม (โฟมชนิดยืดหยุ่น) ผลิตจากโพลิออกซิโพรพิลีนไดออล ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เบาะรองนั่งทั่วไป เก้าอี้นวม ที่นอน แผ่นรองใต้พรม ตัวดูดซับน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล
ริจิดโฟม (โฟมแข็ง) ผลิตจากโพลิอีเทอร์ที่ได้จาก ซอร์บิทอล เมทิลกลูโคไซด์ หรือ ซูโครส ทำให้มีดีกรีของการครอสลิงสูง จึงมีความแข็งแรงสูงกว่าเฟล็กซิเบิลโฟม มีความต้านทานต่อแรงกดดันสูง จึงใช้ทำโครงสร้างของส่วนที่ต้องการน้ำหนักเบา เช่น ลำตัวเครื่องบิน และเรือ เป็นต้น สมบัติในการนำความร้อนต่ำมาก จึงมักใช้เป็นฉนวนสำหรับอาคาร รถขนส่งผลิตภัณฑ์แช่เย็น ชิ้นส่วนของรถยนต์ ตู้เย็น ห้องเย็น และกระติกน้ำแข็ง
นอกจากนี้ยังใช้ทำส่วนประกอบของเรือเพื่อการลอยตัวดีขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและลอยตัวดี
ฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane foam) หรือฉนวนป้องกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟม
(พี.ยู.โฟม) คืออะไร??
ฉนวนกันความร้อนโพลี่ยูรีเทนโฟมหรือฉนวนกันร้อน คือเทคโนโลยีการฉีดฉนวนหรือโฟม กันความร้อนลงบนผิววัสดุ สารที่ใช้ฉีดเป็นฉนวนที่มีชื่อว่า “โพลียูรีเทนโฟม ( Polyurethane Foam )”หรือโฟมกันความร้อนนั่นเอง ซึ่งเป็นฉนวนที่กันความร้อนได้ดีมากที่สุด เมื่อเปรียบ เทียบกับคุณสมบัติโดยรวม กับฉนวนชนิดอื่นๆ โดยทั่วไป “ฉนวนโพลียูรีเทนโฟมจะไม่ดูดซับความชื้นสามารถป้องกันน้ำและกันความชื้นได้” แต่เนื่องจากฉนวนโพลียูรีเทนโฟมมีจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อโดนความร้อนสูงเป็นเวลานานๆ จะเปลี่ยนรูป แต่ในบ้านเราทั่วๆ ไปแล้วจะไม่มีอุณหภูมิสูงถึงระดับนั้นเลยก็ว่าได้ ยกเว้นกรณีที่มีการนำ โพลียูรีเทนโฟม ไปใช้บุหลังกระจกโดยตรง เช่น กระจกหน้าต่างจะทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ซึ่งโฟมไม่สามารถคงสภาพเดิมเอาไว้ได้ นอกจากนี้มีความจำเป็นต้องป้องกันการถูกทำลายเนื่องจากรังสีอัลตราไวโอเลต ( UV )จากดวงอาทิตย์โดยวิธีการพ่นเซรามิคโค้ตติ้งพ่นปิดทับลงบนผิวโพลียูรีเทนโฟมรังสี ความร้อนเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง โดยมีต้นเหตุมาจากหลายแหล่ง แหล่งกำเนิดที่ใหญ่และมากที่สุดได้แก่ รังสีความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งจากสภาวะสิ่งแวดล้อมภายนอก และรังสีความร้อนจากเครื่องจักรกลต่างๆ ซึ่งถ่ายเทพลังงานความร้อนออกมา (Heat Transfer)ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พลังงานความร้อนเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับเราหลายๆอย่างการ ที่เราจะแก้ปัญหาเรื่องความร้อนด้วยวิธีการอย่างอื่นนั้น อย่างเช่น ติดพัดลมดูดอากาศรอบผนังด้านข้าง, ติดตั้งลูกฟักทองหมุนระบายดูดอากาศ (ลูกหมุนระบายอากาศที่หลังคา หรือRoof Ventilatorไว้บนหลังคา ก็พอช่วยแก้ปัญหาบรรเทาเรื่องความร้อนได้บ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ความร้อนโดยส่วนมากมาจากบนหลังคาและฝ้าเพดาน เป็นความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อนของแสงอาทิตย์แบบกระจายจากด้านบน หลังคาผ่านฝ้าเพดานลงสู่ภายในห้อง นั้นคือต้นเหตุของปัญหาและที่มาของความร้อนส่วนใหญ่ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุที่ถูกต้องและถูกจุดก็คือการป้องกัน สกัดกั้นไม่ให้ความร้อนกระจายเข้าภายในอาคารหรือให้ความร้อนส่งผ่านจากด้าน นอกเข้ามาในอาคารให้น้อยที่สุด จึงได้เกิดนวัตกรรมในการป้องกันความร้อนหรือลดความร้อนลงจากภาวะปกติด้วยเทคโนโลยีเครื่องมือที่ทันสมัยในการติดตั้ง ใช้ระบบฉีดหรือพ่นบริเวณหลังคาและใต้หลังคาหรือผนังด้านข้าง เป็นนวัตกรรมที่ใช้ติดตั้งตามอาคารสถานที่ต่าง ๆ จึงเป็นที่มาของฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟมหรือฉนวนป้องกันความร้อนที่ดี ที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งสามารถป้องกัน สกัดกั้นความร้อนจากภายนอกไม่ให้เข้ามาภายในอาคารด้วยการพ่นโฟมหลังคา-ผนัง อาคาร และปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั่วโลกที่ใช้นวัตกรรมนี้
ความหมายของฉนวนกันความร้อน
ฉนวนความร้อนมีความหมายเดียวกันกับฉนวนกันความร้อน เพียงแต่บาง ท่านก็เรียกสั้นๆว่าฉนวนความร้อน ซึ่งก็คือฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนป้องกันความร้อนนั่นเอง
เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดภาวะความร้อนและการใช้เพื่ออนุรักษ์ พลังงานและการประหยัดพลังงาน อากาศร้อนอบอ้าวภายในอาคารบ้านเรือนหรือโรงงาน จำเป็นที่ผู้อยู่อาศัยต้องป้องกันและต่อสู้เพื่อลดภาวะความร้อน หรือใช้เครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับรักษาอุณหภูมิและความชื้นของอากาศในห้องให้อยู่ในสภาพอากาศที่ เหมาะสมเมื่ออุณหภูมิภายในห้องร้อน สูงขึ้นความร้อนจะถูกดึงออกมาเพื่อให้อุณหภูมิลดลง เรียกว่าการทำความเย็น เครื่องมือที่ใช้ควบคุมหรือปรับอุณหภูมิ ภายในอาคาร บ้านเรือน หรือโรงงาน ให้มีภาวะอากาศอยู่อย่างสบาย ก็คือเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ (Air Condition)ดังนั้นเครื่องปรับอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างมาก
การใช้เครื่องปรับอากาศจำเป็นต้องแลกกับค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานไฟฟ้าอย่างสูงเหมือนกันหลักการทำงาน ของเครื่องปรับอากาศคือ ดูดซับความร้อนออกจากห้อง ยิ่งห้องที่มีอุณหภูมิสูง เครื่องปรับอากาศก็ยิ่งทำงานหนักขึ้นและยิ่งทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามาก ยิ่งขึ้น การใช้วัสดุประเภทฉนวนกันความร้อน เป็นวิถีทางหนึ่งในการลดความสูญเสียพลังงานที่ใช้ และเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถช่วยลดพลังงานความร้อน และรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมบนโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้อาคารและที่พักอาศัยโดยทั่วไปมีการติดตั้งฉนวนความร้อนเพื่อควบคุม อุณหภูมิภายในอาคารให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ลักษณะของฉนวนความร้อนมีหลายลักษณะ เช่น เป็นม้วน, เป็นแผ่น, เป็นฝอย เป็นต้น
ฉนวนกันความร้อนมีคุณสมบัติเป็นวัสดุที่ป้องกันการส่งผ่านพลังงานความร้อนจาก ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ฉนวนความร้อนที่ดีจะต้องเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ภายในวัสดุประกอบด้วยฟองอากาศเล็กๆ เป็นจำนวนมาก ฟองอากาศดังกล่าวมีคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นตัวต้านทานการนำความร้อนโดยการกักเก็บพลังงานความร้อนที่ไหลผ่าน ไว้ภายในทำให้ไม่เกิดการส่งผ่านพลังงานความร้อน
ความหมายของฉนวนกันความร้อน
การป้องกันการส่งผ่านพลังงานความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในโดยวิธีนี้ ส่งผลให้อุณหภูมิภายในอาคารและที่พักอาศัยลดลง นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากการเปิดเครื่องปรับ อากาศ หากความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารมาก จะทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานมาก พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต้องมากขึ้นด้วย เมื่อมีการติดตั้งฉนวนความร้อน ทำให้ อุณหภูมิภายในอาคารและที่พักอาศัยลดลงเครื่องปรับอากาศก็จะทำงานน้อยลง เป็นการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อีกทาง
ฉนวนความร้อนในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิด เช่น ฉนวนใยแก้ว (Fiber glass),ฉนวนเยื่อกระดาษ (Cellulose), ยิบซั่มบอร์ด, แผ่นสะท้อนความร้อน (Aluminium foil), ยิบซั่มบอร์ดรวมกับแผ่นสะท้อนความร้อน, เซรามิกเคลือบผิว, ฉนวนโฟมพอลิยูรีเทน (Polyurethane foam)ฉนวนโฟมพอลิเอทิลีน (Polyethylene foam)ฉนวนโฟมพอลิสไตรีน (Polystyrene foam)เป็นต้น
Spray foam insulation, when done correctly, is an impressively consistent and long-lasting way to improve your energy costs, indoor air quality, home safety, and comfort. The durable, sustainable, and cost-effective qualities of spray foam insulation make it a vital contribution to any environmentally-conscious, budget-friendly housing.
There are different types of spray polyurethane foam insulation, and each one carries a distinct set of qualities. Closed-cell foam has a high insulation value, provides rigid strength which helps improve a building's structural integriy, and is mositure resistant. Open-cell foam provides extra comfort by eliminating drafts and effectively containing air within the building. Sandpiper HVAC is proud to offer high-quality spray foam insulation services, which are an extremely efficient way to turn your house into an airtight, energy-saving machine.
คุณสมบัติที่ดีของวัสดุฉนวนกันความร้อน
คุณสมบัติที่ดีของวัสดุที่ต้องการนำมาเป็นฉนวนกันความร้อน
กรณีที่ให้ความสำคัญกับความสามารถในการเป็นฉนวนกันความร้อนของวัสดุนั้น ก่อนที่จะทราบถึงแนวทางในการเลือกใช้ ฉนวนกันความร้อนนั้น ควรจะมีความเข้าใจกับความหมายของคำว่า "วัสดุฉนวนกันความร้อน" ก่อน ซึ่งวัสดุฉนวนกันความร้อนในความหมายที่เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือเลือกวัสดุที่มีความสามารถในการป้องกันความร้อน หรือความเย็นไม่ให้ผ่านจากด้านหนึ่งสู่อีกด้านหนึ่งของวัสดุได้โดยง่าย ซึ่งการที่ความร้อนจะผ่านเข้าได้มากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับวัสดุชนิดนั้นว่า มีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันความร้อนเพียงใด ซึ่งคุณสมบัติของฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนป้องกันความร้อนที่ดีนั้นสามารถพิจารณาได้จากความสามารถในด้านต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
การต้านทานความร้อนสูง หรือค่า R (Resisttivity - "R")
การนำความร้อนที่ต่ำ หรือค่า K (Conductivity - "K")
ความจุความร้อนที่ต่ำ หรือไม่สะสมความร้อนในเนื้อวัสดุ (Thermal Capacity)
โดยค่าต่างๆ เหล่านี้สามารถสอบถามหรือดูจากข้อมูลชนิดของฉนวนที่ผู้ผลิตให้มาและสอบถามความรู้จากกูรูผู้เชี่ยวชาญ ทางนี้โดยเฉพาะ การเลือกใช้วัสดุฉนวนกันความร้อนที่ดีจะช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะเข้ามาภายในอาคารให้น้อยลงได้ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานในการทำความเย็นให้กับอาคาร โดยเฉพาะกับบริเวณที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศที่จะต้องสูญเสียพลังงานในการทำความเย็นในห้องเป็นจำนวนมาก แต่ถ้ามีการใช้วัสดุที่มีความเป็น ฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนป้องกันความร้อนที่ดีนั้นก็จะเป็นการช่วยในการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศได้มาก ซึ่งฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพนั้นสามารถทำให้ประหยัดพลังงานและมีผลทำให้เสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของไฟฟ้าลดลงด้วย
คุณสมบัติของฉนวน P.U. FOAM
1. ฉนวน P.U. FOAM ป้องกันความร้อน-เย็น ( Most Efficient )
สามารถลดการแผ่รังสีและการนำความร้อนได้มากกว่า 95 % ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนที่ต่ำที่สุดรองจากสูญญากาศ ( K Factor = 0.017-0.023 W/mk) หรือค่าต้านทานความร้อน สูงสุด ( R-Value7.296Btu./ f2 / h. 0F) ใช้เป็นฉนวนได้เป็นอย่างดีในงานที่มีช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ -85 0Cถึง 100 0C.
2. ฉนวน P.U. FOAM ลดเสียงดัง กั้นเสียงเข้า- ออก ( Noise Inhibiting )
มีโครงสร้างของเนื้อโฟมแบบ Closed Cellsจึงสามารถ ดูดซับเสียง ป้องกันเสียงรบกวน เสียงก้อง หรือเสียงทะลุทะลวง ผ่านจากภายในสู่ภายนอก หรือจากภายนอกเข้าสู่ภายใน ได้เป็นอย่างดี หรือ ปัญหาเสียงดังจากหลังคาที่มุงด้วยสังกะสี หรือ เหล็ก Metal Sheetหรือ งานห้องสตูดิโอ สถานบันเทิงต่าง ๆ
3. ฉนวน P.U. FOAM ทนต่อกรดและด่าง ( Acid & Base Resistant )
จึงป้องกันการกัดกร่อน หรือการเกิดสนิมที่ผิวหลังคา หรือผนัง ที่เกิดจากไอกรดลอยไปตกกระทบได้ หรือสารเคมีจากภายนอกที่ลอยมากับลมและฝน
4. ฉนวน P.U. FOAM ไม่ลามไฟ ( Fire Retardant )
เนื่องจากมีส่วนผสมสารกันไฟ 15% จะไหม้เฉพาะที่โดนเปลวไฟโดยตรง เท่านั้น แต่ไม่ลามไปส่วนอื่นๆ (ยกเว้นกรณีเหตุสุดวิสัยที่มีเชื้อไฟรุนแรงต่อเนื่อง หรือลมแรงจนพัดสารกันไฟไม่อาจคลุมไฟได้)
5. ฉนวน P.U. FOAM น้ำหนักเบา และแข็งแรง ( Light weight & Strength )
มีน้ำหนักเพียง 1.2 กิโลกรัม / ตารางเมตร มีความทนทาน สามารถรับแรงกดได้ ถึง 2.2 กิโลกรัก / ตารางเซ็นติเมตร (ความหนาแน่น Density 35- 40kg / m3) จึงไม่ยุบตัว อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าอายุตัวอาคาร
6. ฉนวน P.U. FOAM ป้องกันการรั่วซึม ( Water Leaking )
ตัววัสดุเองเป็นกาวในตัวเมื่อพ่นจะเกาะยึดติดได้แน่น ประสานเข้ากันได้ดี กับผิววัสดุทุกชนิด เช่น กระดาษ ไม้อัด คอนกรีต กระเบื้อง สังกะสี อะลูมิเนียมหรือ หลังคาเหล็กโดยไม่มีช่องว่างหรือโพรงอากาศ จึงสามารถกันรั่วกันซึมและป้องกันการเกิดสนิมกับโครงสร้าง ที่เป็นโลหะได้เป็นอย่างดี
7. ฉนวน P.U. FOAM ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (Condensation control)
ช่วยป้องกันการเกิดการกลั่นตัว หรือควบแน่น รวมตัวกันเป็นหยดน้ำของความชื้นในฤดูหนาว ใต้หลังคาโรงงาน โรงเรือน อาคารที่มุงด้วยสังกะสีหรือแผ่นเหล็ก Metal sheet หรือใต้พื้น Slab คอนกรีตที่วางเครื่องทำความเย็น พื้นห้องเย็น พื้นห้องเครื่องส่งสัญญาณสื่อสาร พื้นห้องศูนย์คอมพิวเตอร์ พื้นห้องผ่าตัด ห้องที่มีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยในโรงพยาบาล ซึ่งต้องการควบคุมอุณหภูมิให้เย็นตลอดเวลา
8. ฉนวน P.U. FOAM ติดตั้งง่าย ( Easy to install )
ในการพ่นฉนวนใช้เวลาเซ็ตตัวเพียง 2-3 วินาที และเป็น Varsatile Cellular Plastic จึงมีความคงทนแข็งแรง น้ำหนักเบา ไม่เสื่อมสภาพตลอดอายุการใช้งาน ไม่หลุดร่อน ไม่มีรอยต่อ ติดเป็น เนื้อเดียวกันตลอด และสามารถกำหนดความหนาของวัสดุได้ตามอุณหภูมิที่ต้องการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง
9. ฉนวน P.U. FOAM ปลอดภัยจากสัตว์และแมลง ( Vermin Resistant )
ฉนวนไม่เป็นอาหารของ มด มอด ปลวก หรือ แมลงต่าง ๆ และไม่สามารถเกิดเป็นเชื้อราขึ้นได้ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์เคมีที่ผลิตมาจากปิโตรเลียมโดยตรง
10. ฉนวน P.U. FOAM กับงานรูปทรงเชิงสถาปัตยกรรม (Architectural Shapes)
ตัวฉนวนเองสามารถนำมาตกแต่งดัดแปลงพ่นสร้างเป็น ปฏิมากรรม ในงาน ต่าง ๆ เช่น ฉากหนัง ฉากละครเวที พ่นสร้างเป็นภูเขา ก้อนหิน น้ำตก หุ่นยนต์ ถ้ำ อุโมงค์ ผนัง ตัวสัตว์ต่าง ๆ
11. ฉนวน P.U. FOAM ไม่มีสารพิษเจือปน ( Non Toxic / Irritant )
ไม่มีส่วนผสมของใยหิน ( Asbestos )และใยแก้ว( Fiber Glass ) หรือสารอื่นที่ทำให้ระคายเคือง เกิดอาการแพ้เมื่อสัมผัส ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ไม่มีสารก่อมะเร็ง
12. ฉนวน P.U. FOAM เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ( Worth for Investment )
เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติด้านวิศวกรรมที่เท่าๆกัน จะพบว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ใช้ฉนวนกันความร้อน P.U. FOAM จะถูกว่าฉนวนชนิดอื่นๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ อายุการใช้งานในระยะยาว อรรถประโยชน์ที่จะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งฉนวนชนิดอื่นทำไม่ได้